อักษรวิ่ง
วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
พระราชกรณียกิจ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชกิจมากมาย ทั้งพระราชกิจที่ทรงสืบสานฯต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ, พระราชกรณียกิจเยือนต่างประเทศ, พระราชกรณียกิจประจำวัน และพระราชกรณียกิจทางด้านการศึกษา, ด้านพัฒนา, ด้านศิลปวัฒนธรรมและศาสนา, ด้านสาธารณกุศล, ด้านสาธารณสุขและโภชนาการ, ด้านการต่างประเทศ, ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และด้านเกษตรกรรม
พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ คือ การพัฒนาด้านการศึกษา เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นนักการศึกษาและโปรดที่จะศึกษาหาความรู้ต่างๆอย่างจริงจัง ดังนั้น พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาจึงกำเนิดขึ้นโดยจัดทำเป็นโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดังนี้
โครงการในประเทศไทย: การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร, การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ, การพัฒนากำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, การพัฒนาการศึกษาในชุมชนเมือง, การศึกษาพิเศษเพื่อผู้พิการ, การพัฒนาศูนย์ข้อมูลและห้องสมุด, มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ,
โครงการรระหว่างประเทศ: วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา, ความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, ความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทยและสหภาพพม่าในการพัฒนาเด็กและเยาวชน, ความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในการพัฒนาเด็กและเยาวชน, ความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน, ความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทยและมองโกเลีย, การพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก, ทุนการศึกษาพระราชทานสำหรับนักเรียนไทยศึกษาต่อในต่างประเทศ, ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ
โครงการตามพระราชดำริของพระองค์ล้วนแต่ทำให้เกิดการพัฒนา ความร่วมมือระหว่างประเทศ และเป็นการสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ร่วมตอบสนองโครงการตามพระราชดำริของพระองค์ด้วยการจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนกัมพูชาให้เข้ามาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้จัดตั้งกองทุนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขึ้นเพื่อจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนหรือเยาวชนที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร ตำรวจตะเวนชายแดน และนักเรียนในโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ประเทศเพื่อนบ้าน ด้านการศึกษา
วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558
พระอัจฉริยภาพ
ด้านการประพันธ์
ด้านการประพันธ์ พระราชนิพนธ์ที่ทรงไว้มีจำนวนมากมาย ที่เป็นร้อยกรองนั้นมีบทร้อยกรองพระราชนิพนธ์คำฉันท์ดุษฎีสังเวยและกาพย์ขับไม้ บทร้อยกรองเบ็ดเตล็ดและบทร้อยกรองสำหรับเนื้อเพลงทั้งเพลงไทยและเพลงไทยสากล ที่เป็นร้อยแก้วมีทั้งพระราชนิพนธ์ด้านวิชาการ วรรณกรรมสำหรับเยาวชน และพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกเรื่องราวการเสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศแต่ละครั้ง นับตั้งแต่เล่มแรกคือ”ย่ำแดนมังกร”เมื่อเสด็จฯเยือนประเทศจีนในปี ๒๕๒๔ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันมีพระราชนิพนธ์ในลักษณะบันทึกการเดินทางยังต่างแดนเช่นนี้หลายสิบ เล่มแล้ว
ด้านศิลปะ
ในด้านศิลปะทรงเริ่มสนพระทัยการวาดภาพจากการได้ทอดพระเนตรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวาดภาพสีน้ำมันและขอพระราชทานสีที่เหลือมาทรงวาดบ้าง จากนั้นก็ได้ทรงงานด้านนี้ตามพระราชอัธยาศัยโดยมิได้ทรงฝึกฝนเป็นพิเศษ ทรงเป็นศิลปินที่ไม่หยุดนิ่ง ทรงทดลองเทคนิคต่างๆและการใช้สี ทรงสร้างงานศิลปะจากสื่อหลากชนิดและวัสดุเหลือใช้ รวมทั้งทรงใช้คอมพิวเตอร์ในการวาดภาพนอกจากการวาดภาพ ยังสนพระทัยในด้านศิลปะเครื่องเคลือบดินเผา ได้ทรงงานปั้นไว้จำนวนไม่น้อยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯทรงได้รับครอบครูช่างจากหลวงวิศาลศิลปกรรม(เชื้อ ปัทมจินดา) นับเป็นนิมิตหมายอันประเสริฐแก่การเป็นช่างเขียน ช่างปั้น ซึ่งเป็นงานศิลปะอีกแขนงหนึ่งที่ทรงสนพระทัย
ด้านดนตรี
เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงเรียนดนตรีไทยที่โรงเรียนจิตลดา ทรงใฝ่พระทัยศึกษาเชี่ยวชาญในเครื่องดนตรี ซอด้วง ซอสามสาย ซออู้ จเข้ ระนาด และขลุ่ย ครูดนตรีไทยของพระองค์ได้แก่ ครูนิภา อภัยวงศ์, ครูจินดา สิงหัตน์, ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล เป็นต้น ทรงเรียนระนาดเอกกับ ครููสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ และเสด็ขทรงดนตรีประจำที่บ้านปลายเนินตั้งแต่ พ.ศ. 2528 เป็นต้นมาเมื่อทรงเข้าศึกษาต่อท่ีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ทรงดนตรีกับพระสหายในชมรมดนตรีไทย และทรงเรียนขับร้องเพลงไทยกับอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน ในด้านการขับร้องเพลงไทยทำนองเสนาะ พระองค์ทรงเรียนกับอาจารย์กำชัย ทองหล่อ และอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน ส่วนการประพันธ์บทเพลงนั้น ทรงนิพนธ์เพลงลูกทุ่งเพลงเป็นแรกในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ชื่อเพลงส้มตำ เพลงอื่นๆที่ทรงนิพนธ์ไว้ได้แก่ เพลงเต่ากินผักบุ้ง, เพลงพญาโศก เพลงดุจบิดามารดร และเพลงลอยประทีปเถาเป็นต้นนอกจากดนตรีไทยแล้ว พระองค์ยังทรงดนตรีสากลด้วย โดยทรงเริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่พระชนมายุ ๑๐ พรรษา แต่ได้ทรงเลิกเรียนหลังจากนั้น ๒ ปี และทรงฝึกเครื่องดนตรีสากล ประเภทเครื่องเป่า จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนสามารถทรงทรัมเปตนำวงดุริยางค์ในงานคอนเสิร์ตสายใจไทย และทรงระนาดฝรั่งนำวงดุริยางค์ในงานกาชาดคอนเสิร์ต
ด้านภาษา
ในด้านภาษา ทรงศึกษาภาษาต่างประเทศหลายภาษา ไม่ว่าจะภาษาตะวันออกคือ บาลี-สันสกฤต เขมรและจีน หรือภาษาตะวันตกคือ อังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมันได้ทรงใช้ภาษาเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอยู่เนืองๆ นอกเหนือจากการใช้ภาษาในการสื่อสาร ยังทรงเชี่ยวชาญในบางภาษาจนถึงทรงประพันธ์บทกวีในภาษานั้นๆได้ อาทิ บทกวีพระราชนิพนธ์ภาษาฝรั่งเศส “les pas de mon pere” หรือ “เดินตามรอยเท้าพ่อ” รวมทั้งทรงแปลกวีนิพนธ์ภาษาจีนกว่าร้อยบทเป็นภาษาไทย
เครดิต : http://www.sac.or.th/exhibition/princess/abilities/linguistic/
วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558
การสถาปนาพระอิสริยศักดิ์
ด้วยเหตุที่ทรงบำเพ็ญพระราชกิจจานุกิจนานัปการอันเป็นประโยชน์แก่แผ่นดินและราษฎร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สถาปนาพระราชอิสริยยศ และพระราชอิสริยศักดิ์ เป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ และจากพระวิริยะอุตสาหะในการทรงศึกษาหาความรู้และบำเพ็ญพระราชกิจนานัปการ พระเกียรติคุณ เป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้ง ทั้งในราชอาณาจักร และนานาชาติ จึงทรงรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แห่งราชอาณาจักรไทย และทรงรับการทูลเกล้า ฯ ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
เครดิตข้อความ : http://www.sirindhorn.net/HRH-biography.php
วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558
พระราชประวัติ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)