อักษรวิ่ง

เทิดพระเกียรติพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พระฉายาลักษณ์






พระราชกรณียกิจ

work_08

          สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชกิจมากมาย ทั้งพระราชกิจที่ทรงสืบสานฯต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ, พระราชกรณียกิจเยือนต่างประเทศ, พระราชกรณียกิจประจำวัน และพระราชกรณียกิจทางด้านการศึกษา, ด้านพัฒนา, ด้านศิลปวัฒนธรรมและศาสนา, ด้านสาธารณกุศล, ด้านสาธารณสุขและโภชนาการ, ด้านการต่างประเทศ, ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และด้านเกษตรกรรม
          พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ คือ การพัฒนาด้านการศึกษา เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นนักการศึกษาและโปรดที่จะศึกษาหาความรู้ต่างๆอย่างจริงจัง ดังนั้น พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาจึงกำเนิดขึ้นโดยจัดทำเป็นโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดังนี้
          โครงการในประเทศไทย: การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร, การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ, การพัฒนากำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, การพัฒนาการศึกษาในชุมชนเมือง, การศึกษาพิเศษเพื่อผู้พิการ, การพัฒนาศูนย์ข้อมูลและห้องสมุด, มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ,
          โครงการรระหว่างประเทศ: วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา, ความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, ความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทยและสหภาพพม่าในการพัฒนาเด็กและเยาวชน, ความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในการพัฒนาเด็กและเยาวชน, ความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน, ความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทยและมองโกเลีย, การพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก, ทุนการศึกษาพระราชทานสำหรับนักเรียนไทยศึกษาต่อในต่างประเทศ, ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ
           โครงการตามพระราชดำริของพระองค์ล้วนแต่ทำให้เกิดการพัฒนา ความร่วมมือระหว่างประเทศ และเป็นการสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ร่วมตอบสนองโครงการตามพระราชดำริของพระองค์ด้วยการจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนกัมพูชาให้เข้ามาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้จัดตั้งกองทุนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขึ้นเพื่อจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนหรือเยาวชนที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร ตำรวจตะเวนชายแดน และนักเรียนในโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ประเทศเพื่อนบ้าน ด้านการศึกษา

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558



พระอัจฉริยภาพ 

ด้านการประพันธ์

lit02

ด้านการประพันธ์ พระราชนิพนธ์ที่ทรงไว้มีจำนวนมากมาย ที่เป็นร้อยกรองนั้นมีบทร้อยกรองพระราชนิพนธ์คำฉันท์ดุษฎีสังเวยและกาพย์ขับไม้ บทร้อยกรองเบ็ดเตล็ดและบทร้อยกรองสำหรับเนื้อเพลงทั้งเพลงไทยและเพลงไทยสากล ที่เป็นร้อยแก้วมีทั้งพระราชนิพนธ์ด้านวิชาการ วรรณกรรมสำหรับเยาวชน และพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกเรื่องราวการเสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศแต่ละครั้ง นับตั้งแต่เล่มแรกคือ”ย่ำแดนมังกร”เมื่อเสด็จฯเยือนประเทศจีนในปี ๒๕๒๔ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันมีพระราชนิพนธ์ในลักษณะบันทึกการเดินทางยังต่างแดนเช่นนี้หลายสิบ เล่มแล้ว

ด้านศิลปะ

art016

ในด้านศิลปะทรงเริ่มสนพระทัยการวาดภาพจากการได้ทอดพระเนตรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวาดภาพสีน้ำมันและขอพระราชทานสีที่เหลือมาทรงวาดบ้าง จากนั้นก็ได้ทรงงานด้านนี้ตามพระราชอัธยาศัยโดยมิได้ทรงฝึกฝนเป็นพิเศษ ทรงเป็นศิลปินที่ไม่หยุดนิ่ง ทรงทดลองเทคนิคต่างๆและการใช้สี ทรงสร้างงานศิลปะจากสื่อหลากชนิดและวัสดุเหลือใช้ รวมทั้งทรงใช้คอมพิวเตอร์ในการวาดภาพนอกจากการวาดภาพ ยังสนพระทัยในด้านศิลปะเครื่องเคลือบดินเผา ได้ทรงงานปั้นไว้จำนวนไม่น้อยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯทรงได้รับครอบครูช่างจากหลวงวิศาลศิลปกรรม(เชื้อ ปัทมจินดา) นับเป็นนิมิตหมายอันประเสริฐแก่การเป็นช่างเขียน ช่างปั้น ซึ่งเป็นงานศิลปะอีกแขนงหนึ่งที่ทรงสนพระทัย

ด้านดนตรี

music008

เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงเรียนดนตรีไทยที่โรงเรียนจิตลดา ทรงใฝ่พระทัยศึกษาเชี่ยวชาญในเครื่องดนตรี ซอด้วง ซอสามสาย ซออู้ จเข้ ระนาด และขลุ่ย ครูดนตรีไทยของพระองค์ได้แก่ ครูนิภา อภัยวงศ์, ครูจินดา สิงหัตน์, ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล เป็นต้น ทรงเรียนระนาดเอกกับ ครููสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ และเสด็ขทรงดนตรีประจำที่บ้านปลายเนินตั้งแต่ พ.ศ. 2528 เป็นต้นมาเมื่อทรงเข้าศึกษาต่อท่ีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ทรงดนตรีกับพระสหายในชมรมดนตรีไทย และทรงเรียนขับร้องเพลงไทยกับอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน ในด้านการขับร้องเพลงไทยทำนองเสนาะ พระองค์ทรงเรียนกับอาจารย์กำชัย ทองหล่อ และอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน ส่วนการประพันธ์บทเพลงนั้น ทรงนิพนธ์เพลงลูกทุ่งเพลงเป็นแรกในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ชื่อเพลงส้มตำ เพลงอื่นๆที่ทรงนิพนธ์ไว้ได้แก่ เพลงเต่ากินผักบุ้ง, เพลงพญาโศก เพลงดุจบิดามารดร และเพลงลอยประทีปเถาเป็นต้นอกจากดนตรีไทยแล้ว พระองค์ยังทรงดนตรีสากลด้วย โดยทรงเริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่พระชนมายุ ๑๐ พรรษา แต่ได้ทรงเลิกเรียนหลังจากนั้น ๒ ปี และทรงฝึกเครื่องดนตรีสากล ประเภทเครื่องเป่า จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนสามารถทรงทรัมเปตนำวงดุริยางค์ในงานคอนเสิร์ตสายใจไทย และทรงระนาดฝรั่งนำวงดุริยางค์ในงานกาชาดคอนเสิร์ต


ด้านภาษา

lang02

ในด้านภาษา ทรงศึกษาภาษาต่างประเทศหลายภาษา ไม่ว่าจะภาษาตะวันออกคือ บาลี-สันสกฤต เขมรและจีน หรือภาษาตะวันตกคือ อังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมันได้ทรงใช้ภาษาเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอยู่เนืองๆ นอกเหนือจากการใช้ภาษาในการสื่อสาร ยังทรงเชี่ยวชาญในบางภาษาจนถึงทรงประพันธ์บทกวีในภาษานั้นๆได้ อาทิ บทกวีพระราชนิพนธ์ภาษาฝรั่งเศส “les pas de mon pere” หรือ “เดินตามรอยเท้าพ่อ” รวมทั้งทรงแปลกวีนิพนธ์ภาษาจีนกว่าร้อยบทเป็นภาษาไทย

เครดิต : http://www.sac.or.th/exhibition/princess/abilities/linguistic/

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

การสถาปนาพระอิสริยศักดิ์

ด้วยเหตุที่ทรงบำเพ็ญพระราชกิจจานุกิจนานัปการอันเป็นประโยชน์แก่แผ่นดินและราษฎร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สถาปนาพระราชอิสริยยศ และพระราชอิสริยศักดิ์ เป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ และจากพระวิริยะอุตสาหะในการทรงศึกษาหาความรู้และบำเพ็ญพระราชกิจนานัปการ พระเกียรติคุณ เป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้ง ทั้งในราชอาณาจักร และนานาชาติ จึงทรงรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แห่งราชอาณาจักรไทย และทรงรับการทูลเกล้า ฯ ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

เครดิตข้อความ : http://www.sirindhorn.net/HRH-biography.php



วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

พระราชประวัติ


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ ๓ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๘ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ได้รับพระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์



เครดิตข้อความ: http://www.sirindhorn.net/HRH-biography.php
เครดิตรูปภาพ: thn21573-01.blogspot.com